สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยเมื่อปลายปีที่แล้ว ทำให้เงินไหลกลับและดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กระทบการส่งออกไทย สหรัฐและประเทศอื่นมีผลกับเศรษฐกิจไทยอย่างไร
เศรษฐกิจทั้งโลก ถูกกำหนดและขับเคลื่อนด้วย 3 กลุ่มหลัก อันดับที่ 1 คือสหรัฐฯ รองลงมาคือจีนและสหภาพยุโรป นับตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เป็นต้นมา หลายธุรกิจล้มเป็นโดมิโน และค่อยๆฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ ตัวเลขการเติบโตกลับมาขยายตัว แต่ไม่สูงเหมือนก่อน
สหรัฐฯ ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยมานานถึง 9 ปี แต่เริ่มตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้นมีความท้าทายซึ่งเรียกว่าเป็นความเสี่ยง เพราะช่วงที่สหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ประเทศกำลังพัฒนาหรือตลาดเกิดใหม่ ก่อหนี้ในรูปเงินดอลลาร์ในปริมาณสูง ขาดเงินชำระหนี้ ทำให้สหรัฐฯ ยังไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยในระยะอันใกล้นี้
ด้านเศรษฐกิจจีน มหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอันดับ 2 พบว่า รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สะสมหนี้ไว้มาก โดย 5-6 ปีที่ผ่านมา จีนลงทุนสูงในภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมเหล็ก ธุรกิจจีนก่อหนี้กู้เงินก้อนโต อาจทำให้เศรษฐกิจส่วนนี้อ่อนแอลง ซึ่งทางการจีน พยายามแก้ปัญหานี้
เพราะ 2 ประเทศมหาอำนาจที่กำลังฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพยายามปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศทั้งสิ้น จากนี้เทรนด์ของโลก จะมุ่งสู่การผลิตสินค้ากลุ่มบริการ โดยจีนยอมลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน อีกด้านคือการเพิ่มสัดส่วนจีดีพีภาคบริการ เช่น การศึกษา , การแพทย์ , โทรคมนาคม ซึ่งกระทบไทยแน่นอน
จากนี้เศรษฐกิจจีนจะไม่ถูกขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมอีกต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาปรับตัว ผู้ประกอบการไทยเองรู้ถึงเทรนด์นี้ และต้องตั้งรับให้ทัน เห็นได้ว่าผู้ประกอบการไทย เข้าไปตั้งโรงงานหรือฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะไทยชำนาญด้านการผลิต แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ไทยเข้าไปตั้งฐานการผลิตในกลุ่ม CLMV เพราะยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
สิ่งที่น่ากังวลในโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลกนับจากนี้ คือประเทศมหาอำนาจ ลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากประเทศที่แม้จะมีความสมบูรณ์ด้าน ทรัพยากร แต่ระยะทางไกล ซึ่งคือต้นทุนที่สูงกว่า
สหรัฐ หันไปนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโก จีนพึ่งพาการบริโภคในประเทศ และยุโรป หันมาค้าขายกันเอง การพึ่งพิง AEC น่าจะเป็นหนทางเดียวที่หากใครไหวตัวทัน
อ่านและฟังที่ http://news.voicetv.co.th/business/347925.html
No comments:
Post a Comment